เมนู

วิชานาตีติ ขอถวายพระพร คือปัญหาที่ควรซักไซ้ไล่เลียงเสียก่อนแล้วจึงจะกล่าวแก้ เช่นถาม
ว่า บุคคลย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ทั้งปวงด้วยจักขุแลหรือ ดังนี้ เรียกว่าปฏิปุจฉาพยากรณ์ปัญหา
เป็นปัญหาที่ต้องอนุโยคย้อนถามให้ได้ความแจ่มแจ้งเสียก่อน แล้วจึงกล่าวแก้พยากรณ์ต่อ
ภายหลัง กตโม ฐปนีโย ขอถวายพระพร ปัญหาเช่นไรเรียกว่า ฐปนียปัญหา สสฺสโต โลโกติ
ฐปนีโย ขอถวายพระพร คือปัญหาที่ถามถึงเหตุภายนอกพระศาสนา อันหาประโยชน์มิได้
ไม่ควรจะกล่าวแก้ เช่นถามว่า โลกเที่ยงหรือ โลกไม่เที่ยงหรือ โลกมีในระหว่างหรือ โลกมีใน
อากาศอันมิใช่ระหว่างหรือ โลกมีในระหว่างและโอกาสมิใช่ระหว่างหรือ โลกจะมีในระหว่างก็ใช่
ในโอกาสอันมิใช่ระหว่างก็มิใช่หรือ ชีวิตเป็นอย่างอื่นหรือ สรีระเป็นอย่างอื่นหรือ เบื้องหน้าแต่
นิพพานแล้ว พระตถาคตมีอยู่หรือ พระตถาคตไม่มีหรือ พระตถาคตมีหรือไม่มี พระตถาคตจะ
มีก็มิใช่ จะไม่มีก็มิใช่ เช่นนั้นหรือ ปัญหาทั้งหลายที่กล่าวมานี้แล เรียกว่าปฐนียปัญหา เป็น
ปัญหาควรงดเสีย ไม่ควรจะกล่าวแก้พยากรณ์ มหาราช ดูรานะบพิตรพระพราชสมภาร พระ
เถรเจ้าผู้มาลังฆบุตร ทูลถาม ฐปนียปัญหาดุจวิสัชนามานี้ สมเด็จพระชินสีห์จึงทรงงดเสียไม่กล่าว
แก้ ด้วยทรงเห็นว่า ถึงแม้จะกล่าวแก้ก็ไม่มีเหตุการณ์อันใดที่จะแสดง ปัญหานั้นเป็นอันหาผล
หาประโยชน์มิได้เลย ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ประการหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพร
สมเด็จพระมุนินทรบรมโลกุตตมาจารย์ เมื่อไม่มีเหตุมีการณ์แล้ว พระองค์จะมีพระดำรัสนั้น
เป็นอันว่าหามิได้ ต่อเมื่อมีเหตุมีปัจจัยแล้ว พระองค์จึงมีพระดำรัสตรัสออกไป ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ ได้ทรงสดับดังนั้นก็สิ้นสงสัย มีพระทัยโสมนัสปรีดาตรัสว่า สาธุ
ภนฺเต
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาถูกต้องนักหนา โยมขอรับเอาไว้ดุจนัย
ที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานั้นทุกประการในกาลบัดนี้
ฐปนียพยากรณปัญหา คำรบ 2 จบเพียงนี้

สัตตานัง มัจจุโนภายนปัญหา ที่ 3


พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา เอตํ วจนํ อันว่าคำนี้ ภควา อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงบุญ-
ราศี ผู้มีพระรัศมีแผ่ไปทั้งสามภพ มีพระพุทธฎีกาปรารภโปรดประทานไว้ว่า สพฺเพ สตฺตา
อันว่าสรรพสัตว์ทั้งปวงนั้น ตสนฺติ ย่อมสะดุ้งตกใจกลัวภัยแต่อาญา ภายนฺติ หนึ่งกลัวภัย

แต่พระยามัจจุราช ตรัสเป็นคำขาดฉะนี้แล้ว สมเด็จพระบรมโลกนาถดังฤๅภายหลังกลับ
ประภาษเหล่าว่า พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่ออันตรายจะมีมาถึงตัว จะได้สะดุ้งกลัวหามิได้ ข้าแต่
พระนาคเสนผู้เจริญ พระอรหันต์ย่อมสะดุ้งกลัวอาญาและภัยหรือ อนึ่ง ถึงว่าสัตว์นรกที่เพลิง
ไหม้อยู่มิได้ขาดนั้น จะสะดุ้งตกใจกลัวภัยแต่พระยามัจจุราชด้วยหรือ เมื่อโยมพินิจพิเคราะห์ไป
ถ้อยคำทั้งสองนี้ บางทีว่าสัตว์ทั้งหลายสะดุ้งกลัวอันตรายกลังภัยความตายนั้นก็มี บางทีว่า
พระอรหันต์ไม่สะดุ้งกลัวอันตรายไม่กลัวความตายก็มี ถ้อยคำทั้งสองที่ว่ามานี้ ยังแก่งแย่งกัน
อยู่ ไม่รู้ที่จะถือเอาข้างไหนให้เห็นชอบและผิดบำรุงจิตเป็นสัจจัง อยํ ปญฺโห ปัญหานี้เป็น
อุภโตโกฏิ สองเงื่อนฟั่นเฟือนนักหนา พระผู้เป็นเจ้าได้โปรดวิสัชนา ดับเสียซึ่งวิมัติกังขาความ
สงสัยของโยม ช่วยทำลายล้างคำปรับปวาททั้งหลาย อันจะมีไปภายภายหน้าในกาลบัดนี้
พระนาคเสนผู้ประเสริฐสงฆ์องค์อรหันต์ จึงแก้ปัญหาว่า มหาราช ขอถวายพระพร
บพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ คำที่ว่าสัตว์ทั้งหลายบังเกิดมา สะดุ้งกลัวอาญา กลัวภัย
มัจจุราชนี้ สมเด็จบรมโลกนาถมุนี จะได้ตรัสหมายพระอรหันต์ทั้งหลายที่ขาดจากกิเลสหา
มิได้ หมายเอาแต่สัตว์ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้น พระอรหันต์ทั้งหลายตัดเสียซึ่งคติอันเป็นโลกีย์ และ
ตัดเสียซึ่งปฏิสนธิมิได้เกิดในภพทั้งสาม เป็นอันขาดโดยวิเศษ ตัดเสียซึ่งเหตุผล คือ จะได้มีโลกีย์
กุศลและอกุศลในสันดานหามิได้ กำจัดเสยซึ่งอวิชชาเอาปัญญาเผาเสียซึ่งสรรพกิเลสโลกธรรม
สำเร็จเป็นอันดีแล้ว มิได้มีปลิโพธผูกพัน ตสฺมา เหตุดังนั้น พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายจึงไม่
สะดุ้งกลัวอันตรายภัยความตายอันจะมีมา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
เปรียบปานดุจอำมาตย์ทั้ง 4 อนุรตฺตา เป็นที่โปรดปรานพรพระราชหฤทัยของพระมหา
กษัตริย์ วิสฺสาสิาก ตั้งจิตสมัครรักใคร่คุ้นเคยสนิทชิดชมนักหน สมเด็จบรมกษัตราธิราช ก็
ตั้งไว้ในที่จตุสดมภ์ทั้ง 4 พระราชทานซึ่งเบี้ยหวัดและผ้าปีและบ้านส่วยให้บริโภคใช้สอย ภาย
หลังครั้นมีราชกิจเกิดขึ้น พระมหากษัตริย์มีรับสั่งประกาศให้ทราบทั่วกันว่า บรรดาชนทั้งปวงซึ่ง
อยู่ในรัชสีมาอาณาเขตนี้ จงกระทำพลีกรรมเสียส่วยเป็นเงินราชการ ให้อำมาตย์ทั้ง 4 คนนั้น
เป็นพนักงานจัดการให้สำเร็จ เก็บส่วยให้ได้จงทั่วทุกคนดังนี้ ความสะดุ้งกลัวแต่พลีพึงเกิดมีแก่
อำมาตย์ทั้ง 4 นั้นด้วยหรือ บพิตรพระราชภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิบาล มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
อำมาตย์ทั้ง 4 คนนั้นจะได้สะดุ้งตกใจกลัวหามิได้
พระนาคเสนจึงซักไซ้ว่า เหตุใดเล่าจึงไม่กลัว นะบพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสว่า ด้วยเหตุสมเด็จพระมหากษัตริย์
ธิราช ตั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่ทั้ง 4 นั้นไว้ในฐานันดรตำแหน่งยศศักดิ์อันสูง และสั่งเสียให้อำมาตย์

ทั้ง 4 นั้นเป็นเจ้าพนักงานจัดการเก็บส่วยเช่นนี้ อำมาตรย์ทั้ง 4 นั้นจะต้องกลัวอะไร
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ผู้ประเสริฐ อำมาตย์ทั้ง 4 มิได้สะดุ้งกลัวแต่ราชพลีด้วยเหตุอันใดเล่า ของถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นนเรนทร จึงมีพระราชโองการตรัสตอบว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้
เป็นเจ้าผู้ญาณปรีชา อำมาตย์ทั้ง 4 นั้น สมเด็จพระบรมกษัตริย์ทรงตั้งไว้ในตำแห่งอันสูงสุด
ล่วงพ้นความที่จะต้องเสียพลีไปแล้ว ซึ่งสมเด็จพระบรมกษัตริย์ประกาศป่าวร้องให้เสียพลีนั้น
จะมุ่งหมายถึงมหาอำมาตย์ทั้ง 4 นั้นด้วย ก็เป็นอันว่าหามิได้ พระองค์ทรงหมายแต่มหาชน
ข้าแผ่นดินเหล่าอื่นต่างหาก ด้วยเหตุนี้อำมาตย์ทั้ง 4 นั้น จึงไม่ต้องกลัวแต่พลี
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริญ
มหาอำมาตย์ทั้ง 4 นั้นล่วงพ้นความที่จะต้องเสียพลีไปแล้ว และสมเด็จบรมกษัตริย์ไม่ทรง
ประกาศ ด้วยไม่ทรงมุ่งหมายจะเก็บพลีจากมหาอำมาตย์ทั้ง 4 นั้น มีพระราชประสงค์แต่จะ
เก็บจากมหาชนอื่น ๆ เท่านั้น อันนี้มีครุวนาฉันใด เอวเมว โข สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ศาสดาจารย์ประทานพระพุทธฎีกาว่า สัตว์ทั้งปวงย่อมสะดุ้งแต่อาญา กลัวแต่มัจจุราชดังนี้
มิได้หมายถึงพระอรหันต์ทั้งหลาย หมายแต่ปุถุชนที่ยังหนาอยู่ด้วยกิเลส มีทิฐิติดอยู่ในสันดาน
มีอุปไมยฉันนั้น เพราะเหตุว่าพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านได้สละเพิกถอนความกลัวได้ขาดเด็ด
เสร็จสิ้นแล้ว ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
คำทั้งสองไม่ต้องกัน คำหนึ่งเป็นสาวเสส มีคำมิได้ขาดให้เศษเหลืออยู่ คำหนึ่งเป็นนิราวเสส
คือเป็นคำขาดเดียวมิได้เหลือเศษ คำทั้งสองนี้ไม่ต้องกัน นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าผ่อนผัน
ชักเหตุมาเปรียบให้เห็นแจ้งออกไปในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบ
ดุจดังนายบ้านได้บังคับบัญชาการลูกบ้านตั้งโกฏิ จัดใช้อาณาปกบุรุษ คือบุรุษลูกบ้านสำหรับที่
จะให้ไปป่าวร้องลูกบ้าน และนายบ้านเรียกบุรุษนั้นเข้ามาแล้วก็สั่งว่า โภ ดูกรท่านผู้เจริญ
เจ้าจงเดินไปป่าวร้องลูกบ้านให้มาพร้อมกัน ฝ่ายว่าบุรุษนั้นรับถ้อยคำนายบ้านแล้ว ก็รีบเร็วมา
ถึงกึ่งกลางบ้าน แล้วร้องป่าวว่า ชาวเราเอ่ย นายบ้านให้หาตัวไปพร้อมกันโดยเร็วพลันอย่าได้ช้า
ส่วนว่าชาวบ้านทั้งหลายนั้นประมาณโกฏิหนึ่ง ตุริตตุริตา ก็ขมีขมันมาประชุมกัน แต่บรรดา
ผู้ที่อยู่ในบ้าน ส่วนบุรุษที่ใช้การไปนั้นก็กลับมาบอกแก่นายบ้านว่า บัดนี้ชาวบ้านมาพร้อม
กันแล้ว ท่านจะกระทำการสิ่งไรก็จะกระทำเถิด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-

สมภารผู้ประเสริฐ นายบ้านให้ชนในบ้านทั้งปวงประชุมกัน จะได้สั่งให้งดเว้นคนใดหามิได้ สุด
แต่ว่าอยู่ในบ้านนั้นก็สั่งให้มาประชุมทั้งสิ้น แต่ชาวบ้านจะมาประชุมจนหมดสิ้นหามิได้ มา
ประชุมแต่ประมาณโกฏิคนเท่านั้น นายบ้านก็ยอมรับว่าลูกบ้านของตนเท่านั้นเอง คนทั้งหลาย
เหล่าอื่นที่ไปนอกบ้านมิได้ประชุมเป็นอันมาก อิตฺถี วา เป็นสตรีก็ดี ปุริโส วา เป็นบุรุษก็ดี
ทาโส วา เป็นทาสก็ดี ภตฺติโก วา เป็นลูกจ้างก็ดี อฑฺโฒ วา เป็นคนมั่งมีก็ดี และสัตว์
ทั้งหลาย เช่น ลา แพะ ช้าง โค กระบือ เป็นต้น อนาคต อันมิได้มาสู่ที่ประชุมนั้น จะได้
นับเข้าในสันนิบาตนั้นหามิได้ คำที่บุรุษนักการแจ้งแก่นายแก่นายบ้านที่สั่งให้มาประชุม
กันนั้น บัดนี้มาประชุมพร้อมแล้วดังนี้ หมายแต่บุรุษที่มาประชุมกันโกฏิหนึ่งเท่านั้น จะได้
หมายถึงผู้ที่มีธุระไปไม่ได้มาประชุมด้วยหามิได้ ยถา มีครุวนาฉันใด สมเด็จพระบรมไตรโลก-
นาถตรัสประภาษว่า สัตว์ทั้งหลายสะดุ้งแต่อาญากลัวมัจจุราชนั้น ก็ปรารภเอาแต่สัตว์ที่มีกิเลส
เท่านั้น จะได้หมายถึงพระอรหันต์ด้วยหามิได้ มีอุปไมยฉันนั้น นี่แหละบพิตรพระราชสมภาร
พึงสันนิษฐาน เข้าพระทัยเถิด อันพระพุทธวจนะลึกล้ำคัมภีรภาพ ยากที่จะสอดส่องปัญญา
พิจารณาให้เห็นชัด เห็นแน่ ตามกระแสพระพุทธฎีกา คำแสดงสัตว์มีส่วนเหลือ อรรถแสดง
สัตว์มีส่วนเหลือก็มี คำแสดงสัตว์มีส่วนเหลือ อรรถแสดงสัตว์ไม่มีส่วนเหลือก็มี คำแสดง
สัตว์ไม่มีส่วนเหลือ อรรถแสดงสัตว์มีส่วนเหลือก็มี คำแสดงสัตว์ไม่มีส่วนเหลือ อรรถแสดง
เนื้อความบัณฑิตควรรู้ด้วยเหตุ 5 ประการ เหตุ 5 ประการนั้น อาหจฺจปเทน คือบทแห่งบาลี
มีอรรถจดต้องตามกันนั้นประการ 1 รเสน คืออรรถรส อนุโลมตามบทแห่งบาลีนั้นประการ 1
การณุตฺตริตาย มีอรรถอันจะจัดออกให้ยิ่งกว่าเหตุนั้นประการ 1 อาจริยเสวเนน คือมีอรรถจะ
ให้ส้องเสพอาจารย์ถามอาจารย์นั้นประการ 1 อธิปฺปาเยน คือมีอรรถไว้อธิบายจะให้ความ
กระจายออกนั้นประการ 1 สิริเป็นอรรถมี 5 ประการเท่านี้ และบาลีที่เป็นนิราวเสนนั้นมี
อรรถ 5 ประการ และบาลีที่เป็นสาวเสสนั้นก็มีอรรถ 5 ประการเหมือนกัน บพิตรพึง
สันนิษฐานเข้าพระทัยด้วยประการดังนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ก็มีพระราชโองการตรัสสรรเสริญว่าภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้มีปรีชา อยํ ปญฺโย ปัญหานี้ สุวินิจฺฉิโต อันพระผู้เป็น
เจ้าพิพากษาเป็นอันดี ตถา สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับเอาถ้อยคำจำไว้โดยนัยที่วิสัชนามานี้
ประการหนึ่งเล่า ยกเสียแต่พระอรหันต์เจ้าทั้งปวง นอกกว่านั้น สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ตายไป
เกิดในนรกนั้น ทนทุกขเวทนาลำบากนักหนา กกฺขฬา ร้ายกาจหยาบช้ากล้าแข็ง กฏุกา
ร้อนแรงดิ้นรนกระวนกระวายสุดที่จะกลั้นจะทนพ้นประมาณ ชลิตา มีเปลวเพลิงลุกเผาผลาญ
ประหารอยู่ทั้งตัว ก็มีกายหวาดหวั่นระรัวทั่วอินทรีย์ สพฺพงฺคปจฺจงฺคา มีอวัยวะน้อยใหญ่

ระส่ำระสายไปด้วยความเวทนา การุญฺญกณฺฑิตปริเทวิตลาลปฺปิตมุขา มีปากและหน้าอันฟูม
ฟองนองไปด้วยอัสสุชล บ่นเพ้อพิลาปร่ำไห้ตั้งในเสวยทุกขเวทนาอยู่อย่างเดียว จะเหลียวให้
ใครช่วยก็ช่วยไม่ได้ อสรณภูตา หาที่พึ่งที่อาศัยบ่มิได้ มีแต่ประกอบไปด้วยความโศกจะนับมิได้
เสียงร้องไห้ร้องครางนี้อื้ออึงคะนึงไปน่าพิลึกพึงกลัว ตัวนั้นก็สั่นอยู่รัว ๆ ควรจะกรุณา เสวย
แต่ความโสกาอาดูรพูนทะเวทอยู่เป็นนิจ ไม่มีเลยที่จะเว้นวายสบายจิตสักเวลาหามิได้ มีแต่จะ
เสวยทุกขเวทนาไปท่าเดียวมิได้ขาดสาย ตกว่าสัตว์นรกทั้งหลายได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส
สากรรจ์ถึงเพียงนี้ ขณะเมื่อจะดับสูญสิ้นชีวิตตายจากนรก น่าจะได้คิดวิตกกลัวตายเสียดายชีวิต
เลย ตายเสียดีกว่า จะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาต่อไป ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็สัตว์นรกทั้งหลายนั้น
ยังกลัวตายอยู่ด้วยหรือ
พระนาคเสน ผู้ประกอบไปด้วยญาณปรีชา จึงรับว่า อาม มหาราช เออนั่นแหละบพิตร
สัตว์นรกนั้น เมื่อชีวิตสิ้นไป ก็กลัวภัยมัจจุราชอยู่นั่นแหละ พระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินทราธิบดี มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ตกว่าสัตว์นรกทั้งหลาย กลัวความตายนี้ยิ่งนัก ยังรักที่ว่าจะยอมทน
ทุกข์อยู่หรือ จึงกลัวตาย นรกนั้นมิมีความสบายอยู่ที่ไหนหรือ
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพรนะพรบพิตรพระราชสมภาร
สัตว์นรกจะได้มีสุขสำราญหามิได้ มีน้ำใจจะใคร่พ้นทุกข์เสียโดยเร็วพลัน แต่ทว่าอานุภาพแห่ง
ความกลัวตายนั้นมากนักหนา สัตว์นรกก็รู้ว่า ตายไปจะพ้นความลำบากเวทนา แต่ทว่าจำ
เป็นจำกลัวด้วยอานุภาพความตายดุร้ายนัก ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา น สทฺทหามิ พระผู้เป็นเจ้าว่านี้โยมหารู้ที่จะเชื่อไม่ ธรรมดาว่าสัตว์
ปรารถนาจะพ้นทุกข์แล้วจะกลัวตายไยเล่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอธิบายชักเทียบเปรียบให้โยม
เข้าใจก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร อันความตายนี้
เป็นที่ตกใจของสัตว์ทั้งหลาย อันมิได้พิจารณาเห็นซึ่งพระอริยสัจทั้ง 4 ประการ กระนี้ก็เป็น
ประเพณีมา จะวิสัชนาให้เห็นเหมือนว่าคนทั้งหลายนั้น กณฺหสปฺปํ ภายนฺติ กลัวงูเห่ามัน
จะขบตาย ก็ได้ชื่อว่ากลัวความตาย และคนทั้งหลายที่กลัวช้างร้ายเสือร้าย และหมี
หมาในวัวควายอันร้าย และภัยทั้งหลายต่าง ๆ คืออัคคีภัย ราชภัย โจรภัย อุทกภัย ขาณุ-
กัณฏกภัย คือภัยขวากหนาม และยักษ์ผีเสื้อน้ำก็ดี มีความกลัวตัวสั่น ทั้งนี้ก็ได้ชื่อว่ากลัวตาย

สิ้นทั้งนั้น มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร สัตว์ทั้งหลายจะกลัวภัยอย่างอื่นเท่ากลัวตายนี้
หามิได้ เหตุฉะนี้จึงว่าความตายประกอบไปด้วยเดชมากมายนักหนา สงฺกเวลา สตฺตา สัตว์ทั้ง
หลายบรรดาที่มีกิเลสตัณหาอยู่นี้ ย่อมมีความกลัวทั่วกันสิ้น ที่ใครจะไม่กลัวตายหามิได้ ถึง
สัตว์นรกทั้งหลาย ก็หมายจะพ้นทุกข์อยู่แล แต่ทว่าความตายนี้มีเดชมาก จำเป็นจำกลัวตายอยู่
มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจบุรุษผู้หนึ่ง คณฺฑิกา เป็นฝีมีพิษเจ็บปวด
เวทนา บุรุษผู้ทนทุกข์นักหนา ภึสกํ สลฺลกนฺตํ อามนฺเตยฺย จึงให้หาซึ่งหมอมารักษา
ส่วนว่าหมอนั้นมาดูโรคก็รับรักษา ว่าฝีนี้จะต้องผ่า อุปกรณํ ฐเปยฺย จึงเอาอุปกรณ์มาตั้งไว้ตรง
หน้าคนไข้นั้น อันว่าอุปกรณ์นั้น คือเครื่องที่จะรักษาผ่าซึ่งฝีนั้น แล้วเขาก็ค้นคว้ารื้ออกวางไว้
ติกฺขํ สตฺถํ กเรยฺย ลับมีดให้คมปราบขาววาบวางไว้ เอาแผ่นเหล็กที่สำหรับนาบทิ้งเข้าไฟ ปีสา-
เปยฺย
พึงบดยากัดด้วยหินบดเตรียมการเพื่อจะผ่า อปิ นุ โข มหาราช นี่แลบพิตรพระราชสมภาร
ดังอาตมาขอถาม เมื่อหมอกระทำการอยู่ฉะนี้ บุรุษผู้เป็นฝีนั้นจะกลัวจะคร้ามบ้างหรือไม่
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์มีพระราชโองการตรัสรับคำว่า อาม ภนฺเต เออข้าแต่พระ
ผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชา คนโรคนั้นเมื่อหมอเตรียมจะผ่าเช่นนั้นคงจะประหม่าละท่าน กลัวตัวสั่นสินะ
พระผู้เป็นเจ้า ที่จะไม่กลัวหามิได้
พระนาคเสนจึงเปรียบให้เห็นว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร คนซึ่ง
เป็นฝีนั้นเจ็บปวดเหลือประมาณ ใจคิดจะให้โรคหายจากตัว แต่ว่ามีความกลัวเมื่อหมอจะ
นาบจะผ่าใส่ยากัด ฉันใดก็ดี สัตว์นรกทั้งหลายนี้ ก็มีจิตที่ว่าจะพ้นทุกข์เป็นกำลัง แต่ว่ายังกลัว
ิิอยู่ก็เหมือนบุรุษที่เป็นฝีฉะนั้น อนึ่งเล่าของถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ปานประดุจดัง
บุรุษผู้หนึ่ง อิสฺสรปราธิโก มีความผิดต่อท่านผู้เป็นอิสราธิบดี ท่านให้ลงโทษจำจองไว้ในห้อง
เรือนจำได้ความลำบากเวทนาภายหลังท่านผู้เป็นอิสราธิบดีมีในปารนีเมตตาจะถอดออกให้พ้นโทษ
จึงมีรับสั่งให้ถอดเอาบุรุษผู้นั้นเข้าไป บุรุษผู้ต้องโทษนั้นไม่รู้น้ำใจท่านผู้เป็นใหญ่ว่า จะกระทำ
ร้ายและกระทำดี บุรุษคนโทษครั้นเห็นท่านผู้ใหญ่ก็ตกใจนักหนาจะเป็นอย่างนี้หรือหามิได้
บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์มีพระราชโองการตรัสว่า อาม ภนฺเต เออข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
บุรุษคนโทษนั้นไม่รู้จักว่าร้ายและดี กลัวท่านจะเอาตัวมาเฆี่ยนตี ก็มีน้ำใจสะดุ้งหวั่นพรั่นพรึง
นักหนา
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า นี่แหละบพิตรพระราชสมภาร คนที่เป็นโทษนั้นกลัวท่าน
ผู้เป็นอิสราธิบดี อันเป็นผู้จะปล่อยให้พ้นทุกข์ฉันใดก็ดี สัตว์นรกทั้งหลายนี้มีใจขวนขวายใคร่จะ

พ้นทุกข์ลำบากเวทนาอยู่แล แต่ทว่ายังกลัวความตายอยู่ ถึงรู้ว่าตายไปนี้จะพ้นทุกข์ก็สะดุ้งกลัว
ต่อความตาย เปรียบดุจบุรุษชายเป็นโทษกลับกลัวท่านผู้จะโปรดนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้
เป็นเจ้าลงกล่าวเหตุอันอื่นให้ยิ่งกว่านี้ไปให้โยมสิ้นสงสัยในกาลบัดนี้
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจ
บุรุษผู้หนึ่งอันอสรพิษขบเข้า บุรุษนั้นง่วงเหงาเมามัวทอดตัวไปด้วยกำลังพิษอันร้ายยิ่ง ยังมี
บุรุษผู้หนึ่งเป็นหมองูรู้วิชาร่างมนต์ เรียกเอาตัวงูนั้นให้กลับมาสู่สำนักคนเจ็บด้วยฤทธิ์มนต์
แล้วให้งูนั้นดูดเอาพิษร้ายออกจากกายคนไข้ ฝ่ายบุรุษชายคนเจ็บนั้นเมื่ออสรพิษดูดพิษร้าย
เพื่อจะให้หาย เขายังจะกลับกลัวงูอีกหรือหาไม่ พระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า อาม ภนฺเต ข้าแต่พระ
ผู้เป็นเจ้า บุรุษที่อสรพิษขบนั้น ครั้นเห็นงูดูดเห็นก็จำจะมีจิตสะดุ้งกลัวอยู่
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า ดูกรบพิตรพระราชสมภาร บุรุษนั้นเมื่องูจะดูดพิษร้ายออก
จากกาย เพื่อจะให้สำราญเป็นสุขสวัสดีทีเดียว ยังว่ามีจิตสะดุ้งตกใจกลัว ฉันใดก็ดี สัตว์นรก
ปรารถนาจะตายไปให้พ้นทุกข์ ครั้นว่าจะตายเล่าก็กลัวความตาย เหมือนบุรุษชายที่กลัวงู อัน
ดูดพิษฉะนั้น มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรผู้เป็นใหญ่ในสมบัติมไหศวรรย์ อนิฏฐํ อกนฺตํ
มรณํ
ชื่อว่าความตายจะได้เป็นรักที่ยินดีแห่งสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงหามิได้ ตสฺมา เหตุ
ดังนั้น สัตว์อันทนทุกข์จะอยู่ในนรกนั้น มจฺจุโน ภายนฺติ จึงกลัวความตาย ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร ก็ตรัสสรรเสริญว่า สาธุ ดังข้าพเจ้าซ้องสาธุการ สมฺปฏิจฺ-
ฉามิ
โยมจะรับจำเอาถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้าไว้ในกาลบัดนี้
สัตตานัง มัจจุโน ภายนปัญหา คำรบ 3 จบเพียงนี้

มัจจุปาสามุตติกปัญหา ที่ 4


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินทาธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามปัญหาอื่นสืบไปเล่าว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ภาสิตํ เจตํ ภควตา สมเด็จพระภควันตบพิตร
พิชิตมารมีพระพุทธฎีกาโปรดประทานไว้ว่า สัตว์ทั้งหลายจะเร้นซ่อนตนอยู่ในที่ใด นปฺปสเหยฺย